Banner_Aboutus

การเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชน
(
Respecting Human Rights)

บริษัทฯ มุ่งมั่นในการปฏิบัติตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในหลักการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ รวมถึงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานไทย พ.ศ. 2560 และเคารพต่อองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) 

บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายบริษัทฯในจรรยาบรรณทีพีไอโพลีน Code of Conduct เรื่อง การปฏิบัติต่อกันโดยเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชน ความเป็นส่วนตัว การเคารพสิทธิส่วนบุคคลและให้ความคุ้มครองข้อมูลของลูกค้า คู่ค้า ของพนักงานและของผู้เกี่ยวข้องอย่างสูงสุด ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 การปฏิบัติโดยเท่าเทียมกัน ในการรักษาความปลอดภัย สนับสนุนและเคารพสิทธิทางการเมืองของพนักงาน และสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต สิทธิในการแก้ข้อกล่าวหา มีการตั้งคณะกรรมการที่มีความเป็นอิสระและเป็นธรรมในการสอบสวน ซึ่งผู้ถูกกล่าวหา มีสิทธิในการแก้ข้อกล่าวหาให้ตนเองได้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้มีการดำเนินงานที่สำคัญเกี่ยวข้องเรื่องสิทธิมนุษยชน ดังนี้

  1. ประกาศ เรื่องนโยบายสิทธิมนุษยชนสากล เลขที่ 006/2559 ที่ได้กำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมและการประกอบธุรกิจ ที่สร้างความอ่อนไหวต่อสังคมและชุมชน โดยกำหนดให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานบริษัทฯ ทุกคน ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่บริษัทฯ ได้เข้าไปดำเนินการในพื้นที่นั้นๆ โดยยึดถือแนวปฏิบัติ ดังนี้
  • พนักงานจะต้องปฏิบัติต่อบุคคลใด ๆ ในพื้นที่ของโรงงานด้วยความเคารพ บนพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นธรรม และให้เกียรติซึ่งกันและกัน รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมายทั้งหมดที่มีผลบังคับใช้ภายในประเทศ
  • บริษัทฯส่งเสริมความหลากหลายในการจ้างงานและให้โอกาสพนักงานในการเติบโตและก้าวหน้าในสายอาชีพ โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง อันเนื่องมาจากความเหมือน หรือความแตกต่างด้านเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ประเทศ การศึกษา อายุ เพศ สถานภาพ ความพิการทางร่างกาย และอื่น ๆ
  • พนักงานจะต้องดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างระมัดระวังและรอบคอบ
  • พนักงานจะไม่เปิดเผยข้อมูลความลับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อผู้ไม่มีสิทธิรับรู้ เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้มีส่วนได้ส่วนได้ส่วนเสียเองหรือจากผู้มีอำนาจอนุมัติที่บริษัทฯมอบหมายเท่านั้น
  • พนักงานจะต้องจำกัดการเปิดเผยการใช้และการเข้าถึงข้อมูลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเท่าที่จำเป็น
  • ห้ามพนักงาน กระทำการที่เป็นการคุกคาม ล่วงเกิน หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญทางเพศในโรงงานอย่างเด็ดขาด
  1. กำหนดในจรรยาบรรณคู่ค้าด้านการจัดซื้อ จัดหา ว่าจ้าง (Supplier Code of Conduct) โดยกำหนดแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อป้องกันการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนในทุกกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งครอบคลุมทั้งประเด็นการจ้างแรงงาน และการใช้แรงงานเด็กที่ผิดกฎหมาย โดยกำหนดให้คู่ค้าทางธุรกิจทุกรายต้องปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัด
  2. กำหนดเป็นนโยบาย จรรยาบรรณ ทีพีไอโพลีน Code of Conduct เรื่อง การปฏิบัติต่อกันโดยเคารพต่อหลักสิทธิมนุษย์ชน การปฏิบัติโดยความเท่าเทียม และประกาศใช้ภายในบริษัทฯ
  3. ประกาศ เรื่องนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Policy) เลขที่ บค 0017/2564 โดยกำหนดให้บริษัทฯ มีการดำเนินงานที่คำนึงถึงการเคารพสิทธิส่วนบุคคล ของลูกค้า คู่ค้า พนักงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

          บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญในการดำเนินการ บริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งรวมถึงลูกค้า คู่ค้า ในห่วงโซ่คุณค่า  (Supply Chain Management, SCM) ที่อาจได้รับผลกระทบจากประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน  โดยได้กำหนดนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อใช้บังคับกับกลุ่มธุรกิจของบริษัท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งลดความเสี่ยง ป้องกัน และเพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ยังได้กำหนดกระบวนการตรวจสอบการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน ประกอบไปด้วย การระบุประเด็นความเสี่ยง การประเมินผลกระทบ มาตรการบรรเทาผลกระทบเพื่อลดความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนรวมถึงกำหนดช่องทางการร้องทุกข์และแนวทางแก้ไขเยียวยาผลกระทบเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อผลักดันและให้แน่ใจว่าการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัททีพีไอโพลีน มุ่งมั่นคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด

กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

 

 

 

 

  1. ประกาศนโยบายเป็นข้อผูกพันเชิงนโยบาย (Policy Commitment)
  2. บริษัทมุ่งมั่นในการเคารพสิทธิมนุษยชนโดยกำหนดเป็นนโยบายที่สำคัญขององค์กรและขยายความรับผิดชอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนไปยังคู่ค้า
  3. การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
    • การระบุขอบเขตประเด็นสิทธิมนุษยชน การประเมินความเสี่ยงคลอบคลุมร้อยละ 100 ของพื้นที่ปฏิบัติงานของ TPIPL ได้แก่ สำนักงานกรุงเทพและศูนย์จ่ายต่างๆ โรงงานปูนสระบุรี โรงงานกระเบื้องสระบุรีและโรงงานระยอง

       จากการวิเคราะห์มีการระบุขอบเขตประเด็นสิทธิมนุษยชน 4 ด้านได้แก่

พนักงาน

สังคมและชุมชน

ลูกค้า

คู่ค้าและผู้รับเหมา

- สภาพการจ้างงาน

- สภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย

- เสรีภาพในการเจรจาต่อรอง

-  อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในชุมชน

-  มาตรฐานการครองชีพและคุณภาพชีวิต

-  การมีส่วนร่วมของชุมชน

- ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

- สุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค

- การไม่เลือกปฏิบัติต่อลูกค้า

- สภาพการจ้างงาน

- สุขภาพและความปลอดภัย

  ในการทำงาน

- การบังคับใช้แรงงานเด็ก

3.2 บริษัทประเมินความเสี่ยงโดยใช้ตารางการประเมิน ด้านล่างเพื่อพิจารณาระดับความเป็นไปได้หรือโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) และระดับความรุนแรงเกิดขึ้น (Impact Level) เพื่อจัดลำดับความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

           

 

3.3 การจัดลำดับความเสี่ยงของประเด็นสิทธิมนุษยชน

       ในปี 2565 บริษัทฯ มีการจัดลำดับความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน 4 ด้าน ดังนี้

            บริษัทได้ดำเนินการนำประเด็นความเสี่ยง ด้านสิทธิมนุษยชนใน 5 ประเด็น มาวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และทำมาตรการลดผลกระทบ ดังนี้

 

ขอบเขต

ประเด็นความเสี่ยง

ผลกระทบ

มาตรการบรรเทาผลกระทบ

การจ้างแรงงาน

พนักงานทำล่วงเวลาเกินกำหนด 36 ชม./ สัปดาห์

สิทธิคุ้มครองตามกฏหมาย

สิทธิในคุณภาพชีวิตที่ดี

1.  จ้างแรงงานรับเหมาเพื่อมาช่วยปฎิบัติงาน

2.  กฎหมายคุ้มครองแรงงาน

สุขภาพความปลอดภัยสังคมและชุมชน

อุบัติเหตุจากรถบรรทุกสินค้าที่วิ่งรับส่ง ด้วยความเร็วและมลพิษจากควันดำจากรถที่ปล่อยออกมา

 

สิทธิกฏหมายความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

 

 

1.   ประกาศกำหนดความเร็วของรถบรรทุกสินค้า

2.   กำหนดการตรวจสภาพรถยนต์และแก้ไขสภาพที่ไม่ถูกต้อง

ข้อมูลส่วนบุคคล

การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าอยู่ระหว่างการแจ้งขอความยินยอมจากลูกค้า

สิทธิกฏหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

  สอบถามความสมัครใจหรือการให้ความยินยอมในการจัดเก็บข้อมูล

สุขภาพและความปลอดภัยของคู่ค้าและผู้รับเหมา

 การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

สิทธิความปลอดภัย และ

อาชีวอนามัยในการทำงาน

1.  แจ้งผู้รับเหมาปฏิบัติตาม

   กฏหมายความปลอดภัย

   อาชีวอนามัย

2. ฝึกอบรมการปฎิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัย

  1. 4. การเยียวยาและช่องทางรับข้อร้องเรียน

            การให้การเยียวยาในกรณีที่มีการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน โดยมีกระบวนการรับข้อร้องเรียน ตรวจสอบ/สอบสวนข้อร้องเรียนอย่างเป็นธรรม และกำหนดมาตรการบรรเทาแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงมาตรการการเยียวยาอย่างเป็นธรรม

ช่องทางการติดต่อ

บริษัททีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 26/56 อาคารทีพีไอทาวเวอร์ ถนนจันทน์ตัดใหม่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพ 10120                   

โทรศัพท์ 02 2131039

EMAIL :This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

  1. การติดตามและตรวจสอบการดำเนินงาน

            บริษัทฯ ดำเนินการติดตามผลการปฏิบัติตามมาตราการบรรเทาผลกระทบ ด้านสิทธิมนุษยชนที่กำหนดไว้โดยมุ่งเน้นการบรรเทาและลดผลกระทบเชิงลบ ทั้งนี้หน่วยงานที่ได้นำมาตรการบรรเทาผลกระทบไปดำเนินการจะต้องมีการติดตามตรวสอบและทบทวนแผนการดำเนินการเพื่อให้พัฒนาเกิดประสิทธิภาพ และควรมีการประเมินอีกครั้ง เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบที่ยังคงเหลืออยู่

ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงานความคืบหน้าการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทฯ ได้ประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG Risk) ที่เกิดจากคู่ค้าของบริษัท เช่น เรื่องสิทธิมนุษยชน  แรงงานบังคับและแรงงานเด็ก ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบด้านชุมชนและสังคม โดยมีขอบเขตเรื่อง การจ้างแรงงาน สุขภาพและความปลอดภัยด้านชุมชน เรื่องของอุบัติเหตุจากรถบรรทุกสินค้าที่วิ่งรับส่งด้วยความเร็ว และมลพิษจากควันดำจากรถที่ปล่อยออกมา  การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานและลูกค้า สุขภาพและความปลอดภัยของคู่ค้าและผู้รับเหมา เช่น การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล  

  • ในปี 2565 มีการประเมินส่วนงานต่างๆ ของบริษัท จากสำนักงานใหญ่ จำนวน 32 ฝ่าย และโรงงานสระบุรี จำนวน 21 ฝ่าย ผลการประเมินไม่พบข้อร้องเรียนด้าน ESG
  • ไม่มีข้อร้องเรียนจากคู่ค้าด้านผู้รับเหมาแรงงาน
  • ในปี 2565 การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานได้รับความยินยอมจากพนักงานทุกคน