Banner_Aboutus

การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

            ในปัจจุบันจากภาวะการเติบโตของประชากรโลกที่ส่งผลให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งกิจกรรมทางธุรกิจยังมีส่วนสำคัญที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดมลพิษ และปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเนื่องจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้พลังงานและทรัพยากรน้ำอย่างฟุ่มเฟือย มลอากาศ และน้ำเสียที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งต่อมนุษย์ และสัตว์น้ำ ผลกระทบต่อแหล่งน้ำจืดและน้ำทะเล ซึ่งมาจากขยะและกากของเสียอันเนื่องจากการบริโภคและการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

กลุ่มทีพีไอโพลีน ตระหนักเป็นอย่างยิ่งถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากร ด้วยเหตุผลสำคัญยิ่งที่ว่า “เรากำลังใช้ทรัพยากรธรรมชาติของรุ่นลูกหลาน” กลุ่มทีพีไอโพลีนจึงมุ่งมั่นในการเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ภายใต้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยดำเนินการให้ครบทุกขั้นตอนตั้งแต่การวางแผนวิจัยพัฒนา กระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบไปยังผู้บริโภค เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้พลังงานเชื้อเพลิงหมุนเวียน การจัดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของที่เหลือจากกระบวนการผลิต และการจัดการของเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ในห่วงโซ่อุปทาน ภาคธุรกิจ สังคมและชุมชน อีกทั้งยังได้เชื่อมโยงเข้ากับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดยมีเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านการใช้ทรัพยากร การผลิตผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการจัดการซากของผลิตภัณฑ์ไปสู่การผลิตแบบคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Production) โดยมีเป้าหมายเบื้องต้น คือการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการใช้พลังงานทดแทนเข้ามาในระบบการผลิต รวมทั้งพัฒนาการผลิตผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทีพีไอโพลีน โดยการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการเพิ่มคุณค่าหรือประยุกต์ใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทีพีไอโพลีน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสนับสนุนภาคการเกษตรของประเทศเพื่อให้เกิดเป็นเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) โดยทั้งสามส่วนนี้ถูกดำเนินการร่วมกันเป็น การดำเนินการเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เรียกว่า Bio-Circular-Green Economy (BCG) ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนกลุ่มทีพีไอโพลีนให้เติบโตด้วยนวัตกรรมที่แข่งขันได้ในระดับโลก และทำให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนด้วยการรักษาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG)

 

https://www.tpipolene.co.th/th/investment/bcg-th


 

กลุ่มทีพีไอโพลีนได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินการในทุก ๆ ขั้นตอนตั้งแต่การวิจัยพัฒนา การจัดหาทรัพยากร วัตถุดิบในการผลิตและพลังงานโดยการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า หมุนเวียนกลับมาใช้ให้มากที่สุด การผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งการใช้ทรัพยากรและการรักษาสิ่งแวดล้อม การผลิต และผลิตภัณฑ์สีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสร้างโลกสีเขียว โดยครอบคลุมไปถึงการขาย การขนส่ง และการบริการ

 

 

บริษัทฯ มีการปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด ภายใต้แนวทางการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าวข้างต้น โดยมีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) และรายงานผลกระทบต่อสุขภาพ (Environmental Health Impact Assessment: EHIA) สำหรับการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของบริษัทฯ อย่างครบถ้วน โดยมีการรายงานผลการปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม รายงาน EIA และ EHIA ให้หน่วยราชการและชุมชนทราบ มีการตรวจวัดและประเมินด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามแผน รวมถึงจัดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมให้หน่วยงานราชการและชุมชน อย่างครบถ้วนตามเวลาที่กำหนดไว้ โดยในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน (ปี 2565) บริษัทฯ ไม่มีการละเมิดต่อกฎหมายและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม  

                สำหรับกรณีเหตุการณ์ข้อพิพาทที่บริษัทฯถูกกล่าวหาว่า ทำเหมืองแร่นอกเขตประทานบัตรที่ได้รับอนุญาต ที่จังหวัดสระบุรี ซึ่งในคดีอาญาบริษัทฯ มิได้กระทำความผิดอาญาและไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในคดีอาญา ดังนั้นการเรียกร้องคดีแพ่งจึงไม่มีมูลหนี้ละเมิดเกิดขึ้น เพราะบริษัทฯ ไม่ได้ทำผิดตามฟ้อง จึงไม่ต้องรับผิด และปฏิเสธฟ้องทุกข้อหา ทั้งบริษัทฯ ไม่มีเหตุต้องทำเหมืองแร่นอกเขตประทานบัตรเพราะมีแร่ที่ได้รับประทานบัตรเหลืออยู่อีกหลายร้อยล้านตัน หากแร่ที่มีอยู่จำนวนมากไม่ใช้ให้หมดก่อนประทานบัตรหมดอายุบริษัทฯก็หมดสิทธิ์ใช้ได้อีกต่อไป จึงไม่มีความจำเป็นที่จะลักลอบทำเหมืองจากแหล่งอื่น ๆ

 

ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmentally Friendly Products)

บริษัทฯ มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green products) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการผลิตสินค้าและบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดการปล่อยมลพิษตลอดวัฏจักรชีวิตให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อลดผลกระทบไม่ให้ส่งผลต่อไปยังคนรุ่นหลัง

บริษัทฯ ได้นำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green products) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการผลิตสินค้าและบริการของบริษัทฯ จะต้องมีการควบคุมในทุกกระบวนการ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน เช่น มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9001:2015) มาตรฐานระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (ISO 14001:2015) มาตรฐานระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 45001:2018) และมาตรฐานระบบการจัดการพลังงาน (ISO50001:2011) เป็นต้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทฯ มีคุณภาพ มีความปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และตอบสนองกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างตรงตามความต้องการ ดังนี้

  1. ปูนซิเมนต์ไฮดรอลิก ปูนลดโลกร้อน TPI แดง 299 ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดก๊าซเรือนกระจก โดยการใช้ปูนซิเมนต์ไฮโดรลิก เป็นวัตถุดิบในการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ หรือ คอนกรีตความร้อนต่ำที่ช่วยลดความร้อนสะสมในคอนกรีตโครงสร้างขนาดใหญ่ และเพิ่มความคงทนให้คอนกรีตสามารถทนทานต่อสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี และยังเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับงานก่อสร้างอาคารเขียวตามมาตรฐาน LEED และ TREES
  2. ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับพืช เช่น ปุ๋ยชีวอินทรีย์ และสารปรับสภาพดิน เป็นต้น ปลอดสารพิษ และปลอดโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ทำให้สามารถปลูกผักโดยไม่ต้องใช้ยาปราบศัตรูพืช และจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับปศุสัตว์และประมง เช่น ผงเหลือง และไบโอแซน เป็นต้น
  3. ผลิตภัณฑ์สำหรับชีวะอนามัย เช่น Bio Knox, Microme Knox Solution น้ำยาบ้วนปาก น้ำยาล้างผักเครื่องดื่ม Provita สบู่เหลว น้ำดื่มตรา ทีพีไอพีแอล น้ำยาล้างจาน น้ำยาขจัดคราบ และ Bio-san เป็นต้น ซึ่งบริษัทได้รับรางวัล “ผลิตภัณฑ์ดีเด่นแห่งปี” ประจำปี 2565 ประเภท ผลิตภัณฑ์ส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) และดูแลด้านสุขอนามัยจากมูลนิธิเพื่อสังคมไทย
  4. ผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์ ได้แก่ สารเสริมชีวนะ สำหรับปศุสัตว์และประมง เป็นต้น มีประโยชน์ และปลอดภัยสำหรับสัตว์ สามารถนำมาใช้กับสัตว์ปีก สัตว์บก และสัตว์น้ำทุกชนิด รวมถึงสุกร กุ้ง ปลา ไก่ เป็ดช่วยในกระบวนการย่อยอาหารและดูดซึมอาหารของสัตว์ และเพิ่มภูมิคุ้มกันให้สัตว์มีสุขภาพดี เจริญเติบโตดี น้ำหนักดี และลดการใช้ยาปฏิชีวนะ
  5. ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดในช่วงการใช้งานและ เป็นอุตสาหกรรมสี

เขียวเช่น มีการปล่อยมลพิษต่าในระหว่างใช้งาน ลดการใช้วัสดุสิ้นเปลือง ลดการใช้พลังงานและลดการใช้ชิ้นส่วนที่ไม่จำเป็น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  และช่วยลดการตัดต้นไม้ทำลายป่า ได้แก่ ไฟเบอร์ซิเมนต์ (บอร์ด ฝ้า ผนัง พื้น วัสดุทดแทนไม้และดิจิตอลบอร์ด สินค้าประตู และกระเบื้องหลังคา เป็นต้น)

  1. การผลิตแผงโซลาร์ โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการต่าง ๆ เชื่อมโยงตั้งแต่ต้นจนจบ

กระบวนการ เพื่อเพิ่มการเติบโตและการทำกำไรควบคู่กับการมุ่งพัฒนาเพื่อสร้างสังคมสีเขียวให้กับอนาคต และนำเอา Ethylene ที่ปล่อยทิ้งจากขบวนการผลิตเม็ดพลาสติก EVA ใช้ผลิตกาวน้ำ เป็นต้น 

การดำเนินการในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน โดยส่งผลดีต่อธุรกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) ในปี 2565 รายได้จากการขายสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์สีเขียว ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ที่ 11,722.60 ล้านบาท คิดเป็น 24.35% ของรายได้จากการขายทั้งหมด  ในช่วง 3 ปีผ่านมา รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจชีวภาพ และผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจสีเขียว (Green products)  ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  แสดงถึงผลดีที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมนี้ ทำให้ตลาดสินค้าชีวอินทรีย์คุ้มค่าต่อการใช้งานนั้นมีการเติบโตได้ เนื่องจากสามารถสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทั้งด้านความปลอดภัยและการประหยัดเงิน