Banner_Aboutus

ผลการดำเนินงานเชิงเศรษฐกิจ

จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ภาวะการถดถอยทางด้านเศรษฐกิจ ภาวะสงครามที่ส่งผลต่อต้นทุนด้านพลังงงาน ด้านการขนส่ง และการผลิตที่สูงขึ้น ฯลฯ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งในด้านอุปทานและอุปสงค์ที่อยู่อาศัยที่มีการปรับตัวลดลง อีกทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญต่อสุขภาพและความปลอดภัยในการดำรงชีวิต บริษัท จึงได้มีการปรับปรุงการดำเนินธุรกิจ พัฒนาการดำเนินงานและการบริการให้มีความยืดหยุ่น พร้อมทั้งปรับตัว พัฒนาองค์กรให้พร้อมรับต่อสถานการณ์ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าได้อย่างรวดเร็วและสะดวกมากขึ้น เพื่อสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ พร้อมทั้งส่งมอบคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่องและเติบโตไปพร้อมกันได้อย่างยั่งยืน

 

ผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ (จากงบการเงินรวม) หน่วย : ล้านบาท

รายได้รวม

ค่าจ้างและผลประโยชน์พนักงาน

ภาษีจ่าย

EBITDA

กำไรสุทธิ

เงินปันผลต่อหุ้น

44,963

7,300

186.91

10,055

4,305

0.10


เป้าหมาย

 

การบริหารจัดการ

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญในปี 2566

แนวทางสำหรับปรับปรุง

การดำเนินงานในอนาคต

- สร้างศักยภาพในการเติบโตและผลตอบแทนที่ดี ให้แก่องค์กรในระยะยาว และส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี

 

- ปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจของกลุ่มบริษัท ตลอดจนส่งเสริมวัฒนธรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี ดูแลรับผิดชอบ ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมให้มีการปฏิบัติและดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิผู้บริโภค และการใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม

- มุ่งเน้นการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรม นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ โดยมีทีมงานวิจัยและพัฒนาของกลุ่มทีพีไอโพลีนเอง

- มุ่งเน้นการบริหารจัดการองค์กรตามนโยบาย BCG ในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่คุณค่า เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิต

- พัฒนาโครงการต่อเนื่องในการนำเชื้อเพลิงขยะมาใช้ทดแทนถ่านหินในโรงปูนซิเมนต์ทั้ง 4 สายการผลิต เพื่อลดต้นทุนการผลิตปูนซิเมนต์ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

- Saving in cement & binders การพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ในการลดการใช้ปูนเม็ด เพิ่มการใช้วัสดุทดแทน ส่งเสริมการใช้ปูนซิเมนต์แบบคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Cement) เช่น พัฒนาปูนซิเมนต์ไฮดรอลิก เพื่อใช้ทดแทนปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 เป็นต้น

- Savings in clinker production โดยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการเผาปูนเม็ด  เพิ่มการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล เชื้อเพลิงจากของเสียอุตสาหกรรม หรือขยะชุมชน โดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ ปี 2564  และจะแล้วเสร็จในปี  2566

- การใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดหมุนเวียนอย่างสมบูรณ (REC – Electricity Energy use Renewable Energy 100%) โดยผลิตไฟฟ้าใช้ภายในกลุ่มทีพีไอ โพลีน ในการผลิตปูนซิเมนต์ และการจัดซื้อ REC (Renewable Energy Certificate) เพื่อทำให้การผลิตปูนซิเมนต์ใช้พลังงานหมุนเวียนได้เต็ม 100 %

- มุ่งให้ความสำคัญกับตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche market) สำหรับผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก EVA ซึ่งมีอัตรากำไรสูง และเพิ่มกำลังการผลิตกาวน้ำและกาวผง

- พัฒนากระบวนการผลิตทั้งวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าคุณภาพด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ขยายสายผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ด้วยการออกแบบที่แตกต่างอย่างมีคุณค่าในราคาที่แข่งขันได้ พร้อมจัดระบบการขนส่งและส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ตามต้องการและถูกต้อง

- ติดตั้งเครื่องจักรในส่วนเตาเผาปูนซิเมนต์ เพื่อลดการใช้ความร้อน(Heat Consumption) ลดค่าซ่อมแซม ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนการผลิตปูนซิเมนต์

- เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ปูนสำเร็จรูป ไฟเบอร์ซีเมนต์ กระเบื้องคอนกรีต และอิฐมวลเบา ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

- ขยายช่องทางการจำหน่ายในร้านค้าปลีกแบบสมัยใหม่ (Modern Trade) ทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และหัวเมืองหลัก รวมถึงเพิ่มช่องทางจำหน่ายในรูปแบบร้านค้าปลีกที่เหมาะกับวิถีปกติใหม่ (New Normal)  และช่องทางขายแบบ Online เพื่อให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าได้อย่างสะดวกมากขึ้น

- พัฒนาระบบ Logistic จัดส่งสินค้าและบริการให้ถึงลูกค้าอย่างรวดเร็วถูกต้อง และมีมาตรฐานความปลอดภัยในการขนส่งสินค้า  มีศูนย์จำหน่ายสินค้าและวัตถุดิบที่กระจายอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทั่วประเทศ โดยมีเครือข่ายเชื่อมโยงในการบริหารสินค้าคงคลัง มีร้านค้าปลีกรองรับการขายให้กับลูกค้า เพื่อให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น

- เป็นผู้ผลิตรายเดียวในประเทศไทยที่สามารถผลิตและจำหน่ายกาวน้ำและกาวผงออกสู่ตลาดภายใต้ แบรนด์ Polene®

-ในปี 2566 บริษัท ยังเป็นผู้ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จของไทยรายแรกที่ได้การรับรองผลิตภัณฑ์ Made in Thailand (MiT) โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประกาศบังคับใช้กับโครงการของรัฐต่อเนื่องมาจากปี 2564 ที่ประกาศใช้ นอกจากนี้ ทีพีไอ คอนกรีต ยังมีนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อใช้ในการพัฒนากระบวนการผลิตและการออกแบบผลิตภัณฑ์คอนกรีต เพื่อให้ได้สินค้าที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง สามารถตอบสนองความต้องการคอนกรีตของลูกค้าเจ้าของโครงการทั้งภาครัฐและเอกชนได้หลากหลายมากขึ้น

- พัฒนาคอนกรีตโดยนำเถ้าถ่านหินที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งจากโรงไฟฟ้ามาใช้แทนปูนซิเมนต์ได้ 50% และ การใช้ปูนซิเมนต์ไฮโดรลิก ทดแทนปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์ จึงมีการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จสูตรลดโลกร้อน ซึ่งใช้ปูนซิเมนต์ไฮดรอลิคมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ หรือ คอนกรีตความร้อนต่ำที่ช่วยลดความร้อนสะสมในคอนกรีตโครงสร้างขนาดใหญ่ และเพิ่มความคงทนให้คอนกรีตสามารถทนทานต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆได้ดี และยังเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับงานก่อสร้างอาคารเขียวตามมาตรฐาน LEED และ TREES สอดคล้องกับแนวโน้มดังกล่าว

-  เปลี่ยนธุรกิจโพลิเมอร์ (Polymer) ไปสู่ผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์เกรดพิเศษ (Specialty Polymer) นำก๊าซ Ethylene และสาร Vinyl Acetate ที่ต้องกำจัดทิ้งจากขบวนการผลิตเม็ดพลาสติกกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบ ช่วยลดต้นทุนการผลิต และลดการปล่อยมลพิษสู่ชุมชนและสิ่งแวดล้อม -  TPIPL สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการพัฒนากระบวนการการผลิต (Production Process) จาก ผลงาน “อุปกรณ์สร้างกระแสลมวนบนปล่องไฟแบบมีช่องเปิด” เพื่อลดต้นทุนด้านพลังงาน โดยการใช้พลังงานลมในการช่วยเพิ่มแรงลมภายในปล่อง ช่วยให้พัดลมระบายอากาศใช้พลังงานในการขับอากาศออกจากปล่องลดลง ซึ่งในแต่ละปีการระบายอากาศที่เกิดจากกระบวนการผลิต จะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมากในการขับอากาศออกจากระบบ โดยนวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยในการลดต้นทุนด้านพลังงานให้แก่ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยผลหลังการติดตั้งใช้งานสามารถช่วยลดการใช้ไฟฟ้าในการขับอากาศอยู่ที่ประมาณ 3-41% ซึ่งจากจำนวนที่ติดตั้งทั้งหมด 9 ชุดในปี 2566 ช่วยให้บริษัทใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับอากาศได้ประมาณ 7,974,781.60 kWh/ปี (คิดเป็นจำนวนเงินที่ประหยัดได้ประมาณ 23,126,866.63 บาทต่อปี) หรือลดการใช้พลังงานฟอสซิลสำหรับการผลิตไฟฟ้าลง 0.00379 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเสมือนการปลูกป่าเท่ากับ 3,794 ไร่

   อุปกรณ์สร้างกระแสลมวนบนปล่องไฟแบบมีช่องเปิด ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สร้างโดยบริษัท ในประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษ หรือผลกระทบใดๆ ต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจขององค์กร และยังสร้างแรงบัลดาลใจ ให้แก่พนักงานในองค์กรได้มีความคิดริเริ่มในการสร้างสิ่งใหม่ๆ รวมทั้งการพัฒนาต่อยอดชิ้นงานและนำมาใช้งานได้จริงให้แก่ทั้งองค์กร และประเทศชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้แก่องค์กรต่างๆ ในประเทศไทยในการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมใหม่ๆ ให้แก่ประเทศต่อไปในอนาคต

-    นอกจากนี้บริษัท ยังคงเดินหน้าปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีภายในองค์กรและบุคลากรของบริษัท ที่มีการสั่งสมประสบการณ์การผลิตมากว่า 40  ปี การแปรสภาพด้วยกระบวนการผลิตที่ใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งใช้ spare part recycle และระบบ TPM มาดูแลเครื่องจักรร่วมกับการใช้เทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์การจัดการทรัพยากร (ERP: Enterprise Resources Planning) และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

- บริษัท มีรายได้จากการขาย 42,807 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายได้จากการขายในธุรกิจวัสดุก่อสร้างคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.3 ของรายได้จากการขายรวม ส่วนรายได้จากธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.6 ของรายได้จากการขายรวม และธุรกิจพลังงาน /สาธารณูปโภค คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.8 ของรายได้จากการขายรวม

 - ต้นทุนขายของบริษัท อยู่ที่ 32,900 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 76.9 ของรายได้จากการขาย

- บริษัท มีกำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจปกติ (ไม่รวมกำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยนและภาษีเงินได้นิติบุคคล) 4,509 ล้านบาท

- ในปี 2566 ไม่มีเหตุกรณีถูกฟ้องดำเนินคดี เสียค่าปรับ หรือได้รับโทษอื่น รวมถึงไม่มีกรณีพิพาทที่ต้องดำเนินการผ่านกลไกการระงับข้อพิพาทอันเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบอื่น ๆ ด้านเศรษฐกิจและสังคม [2-27]

 

- พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ รวมทั้งผลิตสินค้าให้สอดรับกับความต้องการของตลาด ซึ่ง มีแนวโน้มความต้องการในการใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ในประเทศจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมจากสถานการณ์โควิด-19 ที่สามารถควบคุมได้ในหลาย พื้นที่ รวมถึงการส่งออกที่คาดว่ามีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งปัจจัยหนุนด้านการลงทุนในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค ระบบขนส่งมวลชน และระบบโครงข่ายการคมนาคมในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อรองรับการเติบโตของประเทศ และการเข้าสู่ ASEAN Economics Community (AEC)

รวมถึงนโยบายที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อาทิ นโยบายผ่อนคลายเพดาน LTV (อัตราส่วนสินเชื่อต่อราคาบ้าน) เป็น 100% สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยใหม่

การรีไฟแนนซ์และสินเชื่อเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการกระตุ้นความต้องการซื้อภายในประเทศให้มีการฟื้นตัว

- ดำเนินโครงการติดตั้งสายพาน และก่อสร้าง CDE Plant (Site C) เพื่อนำหินคลุกมา Recycle เพื่อเพิ่มรายได้และกำไรให้แก่ธุรกิจปูนซิเมนต์

- บริษัท มีนโยบายปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ ไปสู่โพลีเมอร์ เกรดพิเศษ (Specialty Polymer)ซึ่งเป็นเม็ดพลาสติกที่มีองค์ประกอบและโครงสร้างทางเคมีที่ซับซ้อนกว่าเดิม โดยการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตและเครื่องจักรให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น ราคาสูงขึ้น และมีผู้ผลิตจำนวนจำกัดอยู่ในทวีปยุโรปและอเมริกา ทั้งนี้เทคโนโลยีการผลิตเหล่านี้ไม่มีบริษัท ใดขายเทคโนโลยีการผลิตได้เหมือนผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีพื้นฐานอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้บริษัท จึงจำเป็นต้องวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ดังกล่าวเอง โดยอาศัย pilot reactor ชนิดพิเศษที่สามารถทำปฏิกิริยาที่ความดันสูงถึง 3,000 bar ที่บริษัท ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว เพื่อผลิตตัวอย่างสินค้ามาใช้สำหรับการทดสอบและทดลองตลาดใหม่ ๆ ก่อนที่จะพัฒนานำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้กับสายการผลิตจริงในอนาคต โดยทางบริษัท คาดว่าจะสามารถเริ่มผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษประเภทใหม่ได้ ภายในปี 2567

 

 

 

 


ปี 2566 บริษัท มีการกระจายมูลค่าเศรษฐกิจทางตรงไปยังผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ก่อให้เกิดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจสะสมจำนวน 6,403 ล้านบาท  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

มูลค่าเชิงเศรษฐกิจทางตรงที่สร้างขึ้นและที่แจกจ่าย

(Direct Economic Value Generated and Distributed) [201-1]

ปี 2566 *

(ล้านบาท)

 

(1) มูลค่าเชิงเศรษฐกิจทางตรงที่สร้างขึ้น (Direct Economic Value Generated)

รายได้ (Revenues)

34,104

(2) มูลค่าเชิงเศรษฐกิจที่แจกจ่าย (Economic Value Distributed)

ต้นทุนการดำเนินงาน (Operating Costs)

18,312

ค่าจ้างและผลประโยชน์พนักงาน (Employee Wages and Benefits)

5,562

เงินที่ชำระแก่เจ้าของเงินทุน (Payments to Providers of Capital)

3,799

เงินที่ชำระให้แก่รัฐบาล  (Payments to Government)

-

การลงทุนในชุมชน (Community Investment)

28

  รวม

27,701

มูลค่าทางเศรษฐกิจสะสม (1) – (2) (Economic Value Retained)

6,403

หมายเหตุ : * จากงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท