Bannner_News
You are here:Home/ข่าวสาร/ข่าวประชาสัมพันธ์/รายงานการวิจัย ผลของผลิตภัณฑ์ ทีพีไอ-โปรไบโอติกส์ และ ผลิตภัณฑ์ทีพีไอ-ซินไบโอติกส์ ต่อสมรรถนะการผลิตของไก่เนื้อ

รายงานการวิจัย ผลของผลิตภัณฑ์ ทีพีไอ-โปรไบโอติกส์ และ ผลิตภัณฑ์ทีพีไอ-ซินไบโอติกส์ ต่อสมรรถนะการผลิตของไก่เนื้อ

รายงานการวิจัย

ผลของผลิตภัณฑ์ ทีพีไอ-โปรไบโอติกส์ และ ผลิตภัณฑ์ทีพีไอ-ซินไบโอติกส์

ต่อสมรรถนะการผลิตของไก่เนื้อ

(Effects of TPI-Probiotics and TPI-Synbiotics on performance of broilers)

 

            บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด(มหาชน) ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยเอกชน Bangkok Animal Research Center Co., Ltd. (BARC) เพื่อทดสอบผลิตภัณฑ์ ทีพีไอ-โปรไบโอติกส์ และ ทีพีไอ-ซินไบโอติกส์ ต่อสมรรถนะการผลิตของไก่เนื้อ

 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ประเมินผลของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสัตว์ ทีพีไอ-โปรไบโอติกส์และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสัตว์ ทีพีไอ-ซินไบโอติกส์ ต่อสมรรถนะการผลิตของไก่เนื้อตลอดระยะเวลาเลี้ยง 35 วัน (ตั้งแต่ฟักจนอายุ 35 วัน) ภายใต้สภาวะการเลี้ยงแบบหนาแน่น โดยจัดแบ่งการทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม (ไม่ใช้สารเร่งการเจริญเติบโตประเภทสารปฏิชีวนะ ไม่ใช้ทีพีไอ-โปรไบโอติกส์ และ ไม่ใช้ทีพีไอ-ซินไบโอติกส์) กลุ่มที่ 2 กลุ่มเติมสารปฏิชีวนะ Zinc bacitracin 20 ppm ซึ่งในการทดลองนี้ใช้เป็นตัวแทนสารเร่งการเจริญเติบโตประเภทสารปฏิชีวนะ กลุ่มที่ 3 กลุ่มเติมทีพีไอ-โปรไบโอติกส์ 1 % และ กลุ่มที่ 4 กลุ่มเติมทีพีไอ-ซินไบโอติกส์ 1 %

ผลการทดลองแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า การใช้ทีพีไอ-โปรไบโอติกส์ 1 % และ ทีพีไอ-ซินไบโอติกส์ 1 % สามารถส่งเสริมสมรรถนะการผลิตไก่เนื้อตลอดระยะเวลาการเลี้ยง 35 วัน โดยเพิ่มน้ำหนักตัวของไก่เนื้อ และ เพิ่มอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ ได้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และให้ผลไม่แตกต่างจากกลุ่มเติมสารปฏิชีวนะ Zinc bacitracin 20 ppm ผลิตภัณฑ์ทีพีไอ-โปรไบโอติกส์ และ ผลิตภัณฑ์ทีพีไอ-ซินไบโอติกส์ มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมสมรรถนะการผลิตไก่เนื้อไม่แตกต่างกัน และ มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับสารปฏิชีวนะ Zinc bacitracin

 ตารางที่ 1  ผลของทีพีไอ-โปรไบโอติกส์ และ ทีพีไอ-ซินไบโอติกส์ ต่อสมรรถนะการผลิตของไก่เนื้อ (0-35 วัน)

 

 

กลุ่มการทดลอง

สมรรถนะการผลิตของไก่เนื้อ

น้ำหนักตัวไก่เนื้อ

(กรัม)

อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ

อัตรารอดตายของไก่เนื้อ (%)

ควบคุม

 

2495b

1.574 b

94.64

สารปฏิชีวนะ Zinc bacitracin 20 ppm

2673a

1.448 a

97.32

ทีพีไอ-โปรไบโอติกส์ 1 %

 

2665a

1.451 a

98.22

ทีพีไอ-ซินไบโอติกส์ 1 %

 

2666a

1.462 a

99.11

CV (%)

 

1.83

2.48

4.16

 

 

สรุปผลการวิจัย

                         ผลการวิจัยจาก สถาบันวิจัย Bangkok Animal Research Center Co., Ltd. (BARC) เปรียบเทียบระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะและสารซินไบโอติกส์ของทีพีไอพีแอลกับไก่เนื้อทดลอง แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อัตราการการเจริญเติบโต อัตราการแลกเปลี่ยนเนื้อ และอัตราการรอดตายมีผลใกล้เคียงกับการใช้สารปฏิชีวนะ แต่มีผลดีกว่าชุดควบคุม ข้อดีของการใช้ซินไบโอติกส์ที่ได้เปรียบเหนือกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะคือ ต้นทุนการเลี้ยงถูกลง การสร้างภูมิต้านทานให้กับสัตว์ ทำให้ทนต่อโรค และช่วยทำให้เนื้อสัตว์ปราศจากสารปฏิชีวนะตกค้าง ไม่เป็นอันตรายกับผู้บริโภค อีกทั้งยังทำให้อาหารประเภทเนื้อสัตว์ส่งออกเป็นไปตามมาตรฐานสากลของความปลอดภัยในการส่งออกไปยังประเทศต่างๆได้แก่ ประเทศในแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ